เมนู

ตรัสตอบปัญหาทัณฑปาณิศากยะ


[244] ครั้งนั้น เวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่
หลีกเร้น แล้วเสด็จเข้าไปยังนิโครธาราม ประทับ ณ อาสนะที่เขาจัดถวาย
ครั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะเล่า
ให้ฟัง เวลาเช้า เรานุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปสู่พระนครกบิลพัสดุ์เพื่อ
บิณฑบาต ครั้นเสร็จจากการเที่ยวไปบิณฑบาตแล้ว เข้าไปยังป่ามหาวัน เพื่อ
พักในเวลากลางวัน ครั้นถึงแล้ว จึงนั่งพักกลางวัน ณ โคนต้นมะตูมหนุ่ม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ทัณฑปาณิศากยะเสด็จเที่ยวเดินเล่น ได้เข้าไปยังป่า
มหาวัน ครั้นแล้วเข้าไปหาเรายังต้นมะตูมหนุ่ม ได้ปราศรัยกับเรา ครั้นผ่าน
การปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนยันไม้เท้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
และได้ถามเราว่า พระมหาสมณะมีปรกติกล่าวอย่างไร มีปกติบอกอย่างไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อทัณฑปาณิศากยะกล่าวอย่างนั้นแล้ว เราได้ตอบว่า
ดูก่อนผู้มีอายุ บุคคลมีปกติกล่าวอย่างไร จึงจะไม่โต้เถียงกันกับผู้ใดผู้หนึ่ง
ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ
พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ดำรงอยู่ในโลก อนึ่ง สัญญาทั้งหลายจะไม่ครอบงำ
พราหมณ์ผู้ปราศจากกามทั้งหลายนั้น ผู้ไม่ลังเล ผู้ตัดความคะนองได้แล้ว
ผู้ปราศจากตัณหาในภพ น้อยภพใหญ่ได้อย่างไร เรามีปรกติกล่าวอย่างนั้น มี
ปกติบอกอย่างนั้น. เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว ทัณฑปาณิศากยะสั่นศีรษะ
แลบลิ้น ทำหน้าผากย่นเป็น 3 รอย ถือไม้เท้ายันหลีกไป
[245] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูล
ถามขึ้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีปรกติตรัสอย่างไร
จึงไม่โต้เถียงกับผู้ใดผู้หนึ่ง ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ดำรงอยู่ในโลก

อนึ่งสัญญาทั้งหลายจะไม่ครอบงำพราหมณ์ผู้ปราศจากกามทั้งหลายนั้น ผู้ไม่
ลังเล ผู้ตัดความคะนองได้แล้วผู้ปราศจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ได้อย่างไร.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนภิกษุ ส่วนแห่งสัญญาเครื่อง
เนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด ถ้าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือ
กล้ำกลืนไม่มีในเหตุนั้น อันนี้เทียวเป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิ-
ฆานุสัย เป็นที่สุคแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่ง
มานานุสัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย เป็นที่สุด
แห่งการจับท่อนไม้ การจับศาสตรา การทะเลาะ การถือผิด การโต้เถียง
การด่าว่า การส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านี้
ย่อมดับไปโดยไม่เหลือในเพราะเหตุนั้น. ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตเจ้าได้
ตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย.

ทรงแสดงอุเทศโดยย่อ


[246] ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปไม่นาน ภิกษุเหล่า
นั้น ก็บังเกิดความสงสัยว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงอุเทศนี้ไว้โดยย่อว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนแห่งสัญญาเครื่อง
เนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด ถ้าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือ
กล้ำกลืน ไม่มีในเหตุนั้น อันนี้เทียวเป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่ง
ปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุด
แห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย เป็นที่
สุดแห่งการจับท่อนไม้ การจับศาสตรา การทะเลาะ การถือผิด การโต้เถียง
การด่าว่า การส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ อกุศลธรรมอันลามากเหล่านี้
ย่อมดับไปโดยไม่เหลือ ในเพราะเหตุนั้น แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร